- เป็นมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ ที่เปิดให้ประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นำเอกสารหลักฐานการซื้อสินค้าและบริการตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีภาษี 2563 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- รายการช้อปดีมีคืนที่ใช้สิทธิ์นี้เป็นรายการลดหย่อนภาษี ไม่ใช่ การลดภาษี และผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี จะได้เงินคืนบางส่วนเท่านั้นไม่ได้เงินคืนเต็มจำนวนจากการซื้อสินค้าหรือบริการ
ช่วงเวลาใช้สิทธิ์ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้อง
- ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563
- โดยเอกสารใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินต้องระบุวันที่ในช่วงเวลาที่กฏหมายกำหนด
- กรณีบริการ ต้องเป็นการใช้บริการและชำระเงินภายในช่วงเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้ ถึงจะใช้ได้
ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ
- บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้ใช้สิทธิ์โครงการคนละครึ่งและบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ผู้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคล
- ผู้ที่ใช้สิทธิ์โครงการคนละครึ่ง
- ผู้ใช้สิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
สินค้าหรือบริการที่สามารถซื้อได้
ยกเว้นการซื้อสินค้าและบริการดังต่อไปนี้ที่ไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีในโครงการนี้ได้ ประกอบด้วย
1. สุรา, เบียร์ และไวน์
2. ค่าน้ำมัน และก๊าซ
3. ค่าหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
4. ค่าบริการธุรกิจนำเที่ยว
5. ยาสูบ
6. รถยนต์, มอเตอร์ไซค์ และเรือ
7. ค่าบริการ E-book
8. ค่าที่พักโรงแรม
หมายเหตุ
- การซื้อทองคำแท่ง ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เพราะทองคำแท่งไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การซื้อทองรูปพรรณ สามารถนำค่ากำเหน็จมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามเงื่อนไข แต่ไม่สามารถนำราคาทองคำรูปพรรณ มาใช้สิทธิลดหย่อนได้ เพราะตัวทองคำก็ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน
สินค้าที่ซื้อแล้วไม่สามารถใช้สิทธิช้อปดีมีคืน
1. ข้าวสาร ผัก – ผลไม้สด เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถือเป็นสินค้าเกษตร ที่ยังไม่ได้แปรรูป ซึ่ง ได้รับการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่แล้ว จึงนำไปใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้
2. อาหารสัตว์ เช่น อาหารสุนัข แมว ปลา สุกร ฯลฯ จะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หีบห่อ หรือไก็ตาม จัดเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษี VAT ดังนั้นไม่สามารถใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืนได้
3. การจ่ายเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ถ้าเทียบจากโครงการช้อปช่วยชาติของปีก่อน ๆ การซื้อประกันภัยรถยนต์จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากประกันรถยนต์ มีระยะเวลาคุ้มครอง นอกเหนือช่วงวันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งเงื่อนไขของโครงการช้อปดีมีคืน ระบุว่าต้องซื้อและใช้บริการภายในช่วงเวลาดังกล่าวเท่านั้น
4. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล เช่น ทันตกรรม ทำเลสิก ทำศัลยกรรม เข้าคอร์สเสริมความงาม ตรวจสุขภาพ ฯลฯ ค่ารักษาพยาบาลเหล่านี้ได้รับการยกเว้น VAT จึงไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้
5. บริการที่เสียค่าสมาชิกรายปี เช่น สมาชิกฟิตเนสรายปี หากเป็นการจ่ายรายปี จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากมีระยะเวลาให้บริการนอกเหนือจากช่วงวันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563
6. บัตรของขวัญ (Gift Voucher) ใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้ เพราะบัตรของขวัญ ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
7. ค่าเทอม และคอร์สเรียนพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นของราชการ หรือเอกชน ถือเป็นการให้บริการทางการศึกษา ที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืนไม่ได้
เอกสารที่ต้องขอจากร้านค้า
1. สินค้าและบริการที่จดทะเบียน VAT
- ใบกำกับภาษีเต็มรูปที่ระบุชื่อของผู้ซื้อ
- กรณีผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่จำเป็นต้องระบุเลขบัตรประจำประชาชน เนื่องจากการระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี หรือเลขประจำตัวบัตรประชาชนของเรานั้น มีความจำเป็นจะต้องระบุก็ต่อเมื่อ กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น อ้างอิงข้อ 1 และ ข้อ 3 ตามคำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป https://www.rd.go.th/publish/49981.0.html
2. สินค้าและบริการที่ไม่จดทะเบียน VAT
- ใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อของผู้ซื้อ
- ตัวอย่างสินค้า ได้แก่ สินค้า OTOP (กรณีไม่จด VAT) และหนังสือ/Ebook (ที่ได้รับการยกเว้น VAT)